วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน

 การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
                -  ขั้นนำสู่บทเรียน  เพื่อกระตุ้นให้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนสื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ  หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกจริง  อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิด  และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น  เช่น  ภาพ  บัตรคำ  หรือเสียง  เป็นต้น
-  ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะจะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ผู้สอนจึงต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อประสมก็ได้  ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน  การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน  เช่น  ของจริง  แผ่นโปร่งใส  กราฟ  วีดิทัศน์  แผ่นวีซีดี  หรือการทัศนศึกษานอกสถานที่  เป็นต้น 
 ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียน             ได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฏีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือ       ฝึกปฏิบัติเอง  สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหา  เทปเสียง  สมุดแบบฝึกหัด  ชุดการเรียน  หรือบทเรียนซีเอไอ  เป็นต้น
-  ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นการเน้นย้ำเนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้          ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาน้อย  เช่น  แผนภูมิ  โปร่งใส  กราฟ  เป็นต้น
-  ขั้นประเมินผู้เรียน  เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด  และบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่  สื่อในขั้นประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้  อาจนำบัตรคำหรือสื่อที่ใช้ขั้นกิจกรรมการเรียนมาถามอีกครั้งหนึ่ง  และอาจเป็นการทดสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อหรือการกระทำของผู้เรียนเพื่อทดสอบดูว่าผู้เรียนสามารถมีทักษะจากการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
  
การบำรุงรักษาสื่อนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่มีการนำสื่อการสอนออกไปใช้ ย่อมมีโอกาสทำให้สื่อเกิดความเสียหาย ดังนั้น การบำรุงรักษาสื่อ จึงเป็นกระบวนการหนึ่งในการยืดอายุการใช้งานสื่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกเหนือจากการซ่อมบำรุงแล้ว การบำรุงรักษาสื่อยังหมายรวมไปถึงการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมออีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น