วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

การแบ่งประเภทของสื่อการสอน ตามการนำไปใช้

***Carlton W.H. Erickson and David H. Curl ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนในแง่ของการนำไปใช้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.             สื่อทัศนะที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง เกม วัสดุกราฟิก ป้ายนิเทศ และนิทรรศการ กระดานดำ แผ่นป้ายสำลี กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้า
2.             สื่อที่ต้องฉาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เทปโทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป ไมโครฟิล์ม การบันทึกเสียง
***Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะทางกายภาพได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.             ภาพนิ่ง อาจะเป็นภาพประกอบในหนังสือ ภาพประกอบป้ายนิเทศ สไลด์ หรือฟิล์มสตริป เป็นต้น
2.             วัสดุอุปกรณ์ประเภทเสียง ได้แก่การบันทึกเสียง แผ่นเสียง หรือ ระบบเสียงในฟิล์มภาพยนตร์
3.             ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์
4.             โทรทัศน์
5.             ของจริง สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง
6.             บทเรียนโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กล่าวโดยรวมๆคือ การแบ่งประเภทของสื่อการสอนนั้น ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์ใด ก็ยังคงอ้างอิงอยู่กับลักษณะของการรับรู้ และการเรียนรู้ เป็นหลัก ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้มิติ หรือ ลักษณะการนำไปใช้ หรือแม้แต่รูปร่างของสื่อ สิ่งที่สำคัญของสื่อการสอนนั้น ไม่ใช่ประเภทของสื่อ แต่เป็นการออกแบบเพื่อการส่งสาร โดยต้องอาศัยการเลือกใช้ว่าจะออกแบบ และเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือใด ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราคงไม่สามารถใช้สื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสถานที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และวัตถุประสงค์ของการสอน จึงมีความสำคัญสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา
ในการเลือกใช้สื่อการสอนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการเลือกใช้สื่อแต่ละประเภท ให้เหมาะสม ซึ่งต้องพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
      1.องค์ประกอบในการเลือกใช้สื่อ
1.1                  จุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหารายวิชา ผู้สอนจำเป็นต้องนำจุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหาวิชา มาเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อกำหนดได้ว่า ในเนื้อหาลักษณะวิชาที่จะนำมาสอนนี้ต้องการให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้หรือมีพฤติกรรมขั้นสุดท้ายเป็นเช่นไร
1.2                  รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน เช่น การบรรยาย อภิปราย หรือการสาธิต
1.3                  ลักษณะของผู้เรียน โดยต้องพิจารณาทั้ง อายุ เพศ เจตคติ ความเชื่อ พื้นฐานความรู้ ความถนัดทางการเรียน เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม
1.4                  เกณฑ์เฉพาะของสื่อ ซึ่งสื่อแต่ละประเภท จะมีคุณสมบัติ และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงบทบาทของสื่อแต่ละชนิด ก่อนทำการเลือกใช้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการเรียนการสอน
1.5                  วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยต้องคำนึงถึงสภาพของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่มีอยู่ในสถานที่นั้นๆ

2.             ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ กับคุณสมบัติของสื่อ และจุดประสงค์การเรียนการสอน โดยจุดประสงค์ทางการเรียนการสอน สามารถจำแนกองค์ประกอบได้fy’ouh
2.1 ประเภทของสื่อ
2.2 คุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
2.3 จุดประสงค์ของการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น