วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมาย


             สื่อนับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ  ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
                กิดานันท์  มลิทอง (2549: 100)  ได้ให้ความหมายคำว่า  สื่อ  (medium,pl.media)  เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า ระหว่าง”  (betaween)  สิ่งใดข้อตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
                ในการเล่าเรียน  เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า สื่อสอนการสอน”  และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า  สื่อการเรียน”  โดยเรียกรวมกันว่า  สื่อการเรียนการสอน”  หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า  สื่อการสอน”  หมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง  สไลด์ วิทยุ  โทรทัศน์  วีดิทัศน์ แผนภูมิ  รูปภาพ  ฯลฯ  ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน  หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้การสอนส่งไปถึงผู้เรียน  สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้ผู้เรียนมีความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน  โดยต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                    สื่อการเรียนการสอนนั้น เป็นตัวกลางหรือช่องทางถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสื่อการเรียนก็นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนผู้สอนได้แสดงบทบาท และเกิดความเข้าใจในวิชาที่เรียนที่สอนกันได้มากขึ้น
            ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
                สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกัน
              บทบาทและคุณค่าของสื่อการสอนของนักเทคโนโลยีการศึกษา และนักจิตวิทยา
***อิริคสัน ได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.             สื่อการเรียนการสอนจะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศไกลๆ แต่นำภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับประเทศนั้นๆมาฉายให้ดู ผู้เรียนก็จะเกิดประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้น
2.             สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย เช่นการใช้บทเรียนจากวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องฉาย หรือบทเรียนสำเร็จรูป
3.             สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองตามความคาดหวังที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เช่น ศูนย์การเรียน หรือการเรียนด้วยตัวเองจากบทเรียนสำเร็จรูป
4.             สื่อการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียนรู้ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักอภิปราย การสาธิต การแสดงนาฏการเป็นต้น
5.             สื่อการเรียนการสอนจะช่วยสอนสิ่งที่อยู่ในที่ลี้ลับ ไม่สามารถนำมาให้ดูโดยตรงได้ เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนแสดงการทำงานของอะตอม
6.             สื่อการเรียนการสอน จะช่วยในการวินิจฉัย หรือการซ่อมเสริมผู้เรียนได้ ตัวอย่างเช่น การใช้แบบเรียนรู้สำเร็จรูปสำหรับผู้เรียนที่เรียนช้ากว่าปกติ
เกอร์ลาซ และ อีไล  ได้ให้ลักษณะพิเศษของสื่อการสอนไว้ดังนี้
1.             สื่อการเรียนการสอนสามารถบันทึกเหตุการณ์ในอดีต ตลอดจนปัจจุบันได้ และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
2.             สื่อการสอนสามารถบันทึกเหตุการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถสังเกตหรือมองเห็นได้ เช่น การใช้ภาพยนตร์ฉายแสดงการงอกของต้นถั่ว การแสดงภาพนักกีฬาที่เคลื่อนไหวช้าลง หรือการถ่ายสไลด์จากกล้องจุลทรรศน์เป็นต้น
3.             สื่อการเรียนการสอนสามารถใช้ได้กับคนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือรายบุคคลในสถานที่แตกต่างกันได้

เปรื่อง กุมุท  ได้กล่าวถึงคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน ต่อผลการเรียนการสอนดังนี้
1.             ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2.             ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้
3.             ช่วยให้ผู้เรียนสนใจ และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4.             ช่วยให้ผู้เรียนจดจำและประทับความรู้สึก ทำอะไรเป็นเร็วและดีขึ้น
5.             ช่วยส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
6.             ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ยากลำบากได้ โดยการแก้ปัญหาหรือข้อจำกัดต่างๆได้ดังนี้
ก.ทำสิ่งซับซ้อให้ง่ายขึ้น
ข.ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
                     ค.ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
ง.ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้เร็วขึ้น
                      จ.ทำสิ่งใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง
                      ฉ.ทำสิ่งเล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
                      ช.นำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้
                      ญ.นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
กล่าวโดยสรุปแล้ว คุณค่าของสื่อการสอนนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยในการจัดสภาพการเรียนรู้ เอื้อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยช่วยทำให้สิ่งที่ยากต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง หรือสามารถเรียนรู้ได้ในกลุ่มขนาดใหญ่ ช่วยลดช่องว่างทางการเรียนรู้ ทั้งด้านระยะเวลา ระยะทาง งบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ช่วยขจัดหรือลดอุปสรรคทางการเรียนรู้ลงนั่นเอง
ประเภทของสื่อนั้น เราสามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ คือ
1.             แบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน
2.             แบ่งตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
3.             แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้
การแบ่งประเภทของสื่อตามประสบการณ์ของผู้เรียน มีแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ของ
มนุษย์ย่อมเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆโดยผ่านสื่อกลาง ระดับของประสบการณ์ที่ได้รับย่อมมีปริมาณมาก-น้อยแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับว่ามีความเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมมากน้อยเพียงไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น