สื่อนับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกันและคุณค่าของสื่อการสอนนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยในการจัดสภาพการเรียนรู้ เอื้อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยช่วยทำให้สิ่งที่ยากต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง หรือสามารถเรียนรู้ได้ในกลุ่มขนาดใหญ่ ช่วยลดช่องว่างทางการเรียนรู้ ทั้งด้านระยะเวลา ระยะทาง งบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ช่วยขจัดหรือลดอุปสรรคทางการเรียนรู้ลงนั่นเองส่วนการแบ่งประเภทของสื่อการสอนนั้น ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์ใด ก็ยังคงอ้างอิงอยู่กับลักษณะของการรับรู้ และการเรียนรู้ เป็นหลัก ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้มิติ หรือ ลักษณะการนำไปใช้ หรือแม้แต่รูปร่างของสื่อ สิ่งที่สำคัญของสื่อการสอนนั้น ไม่ใช่ประเภทของสื่อ แต่เป็นการออกแบบเพื่อการส่งสาร โดยต้องอาศัยการเลือกใช้ว่าจะออกแบบ และเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือใด ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราคงไม่สามารถใช้สื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสถานที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และวัตถุประสงค์ของการสอน จึงมีความสำคัญสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาอีกมากมาย
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555
ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
· นำอดีตมาศึกษาได้
· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
· นำอดีตมาศึกษาได้
· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น
วัดและการประเมินสื่อการวัดผลของสื่อและวิธีการ
หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้
การประเมินการใช้สื่อการสอน
1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ เพื่อดูว่าสิ่งต่าง ๆ ที่วางไว้สามารถดำเนินไปตามแผนหรือไม่ หรือเป็นไปเพียงตามหลักการทฤษฎีแต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ จึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงในการวางแผนครั้งต่อไป
2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ เพื่อดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร และมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่
3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรงว่า เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์
2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ เพื่อดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร และมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่
3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรงว่า เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์
รูปแบบและวิธีการการใช้เทคโนโลยี ในการเรียนการสอน
รูปแบบ/วิธีการ | ข้อดี | ข้อจำกัด |
สื่อหลายมิติ(hypermedia) | - สามารถอ่านเนื้อหาในตอนใดที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงตามลำดับเชื่อมโยงข้อมูลได้สะดวก - เนื้อหาบทเรียนมีทั้งภาพกราฟิก ภาพวีดีทัศน์ เสียงพูด เสียงดนตรี - ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที | - ต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงในการผลิตบทเรียน - ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบทเรียน - ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ คุณภาพสูง - การผลิตบทเรียนที่ดีต้องใช้อุปกรณ์ร่วมหลายอย่าง เช่น เครื่องเสียง กล้องดิจิทัล |
อินเทอร์เน็ต (Internet) | - ค้นคว้าข้อมูลได้ทั่วโลก - ติดตามข่าวสารความรู้ได้อย่างรวดเร็ว - สนทนากับผู้ที่อยู่ห่างไกล - รับส่งไปรษณีย์ รูปแบบข้อความ ภาพ และเสียงได้ - ใช้ในการเรียนการสอนได้มากมายหลายรูปแบบ เช่นการสอนบนเว็บทางไกล | - ข้อมูลที่ได้อาจไม่ถูกต้องเพราะไม่มีใครรับรอง - ต้องมีการศึกษาใช้งานเพื่อสืบค้นข้อมูล - ประชาชนไม่มีความรู้ด้านไอที |
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) | - ผู้เรียนใช้ได้ทุกคน - เป็นเทคโนโลยีราคาถูก - ผู้เรียนด้วยเว็บสามารถเรียน ณ ที่ใดที่หนึ่งได้สะดวก - สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนได้ | - การสื่อสารยังใช้แบนด์วิดท์แคบทำให้สื่อสารการสอนที่ส่งบนเว็บจำกัดอยู่เพียงข้อความและภาพนิ่งเป็นส่วนมาก - ไม่เหมาะกับวัฒนธรรมบางประเทศที่เคร่งต่อประเพณีเก่า - ผู้เรียนอาจได้ดูเว็บไม่ปกติ |
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) | - ช่วยในเรื่องของเวลา - เปิดโอกาสให้สอบถามเป็นการส่วนตัว - สามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้ | - ไม่สามารถแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติได้ - อาจเกิดความผิดพลาดในเวลาที่ไม่ต่อเนื่อง |
การสอนบนเว็บWBI : (web-based instruction) | - ขยายโอกาสให้ผู้เรียนรอบโลก - เรียนด้วยการสื่อสารหลายแบบ - มีการเรียนทั้งแบบประสานเวลาและแบบไม่ประสานเวลา | - ผู้สอนและเรียนอาจไม่พบหน้ากันเลย อาจทำให้ผู้เรียนบางคนอึดอัดและไม่สะดวกในการเรียน - ผู้สอนต้องใช้เวลาเตรียมการสอนมากกว่าปกติ - ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมการเรียนของตนเองจึงจะประสบผลสำเร็จในการเรียนได้ |
การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม | - ถึงแม้จะมีการลงทุนค่อนข้างสูงในเบื้องต้นในเรื่องของห้องสตูดิโอและอุปกรณ์รับสัญญาณแต่สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นสิ่งเปลืองเหมือนวัสดุอื่น - เป็นการลงทุนอย่างคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความสามารถในการรับบทเรียนและการสอนเพื่อผู้เรียนกลุ่มใหญ่ - การบรรยายบทเรียนเป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับผู้เรียนทุกแห่ง - สามารถใช้รูปแบบการสื่อสารสองทางเมื่อใช้ร่วมกับโทรศัพท์ | - ต้องใช้ทุนสูงในการเริ่มต้น รวมถึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการดำเนินในการดำเนินงาน - หากเป็นการรับสัญญาณผ่านโทรทัศน์จะไม่มีลักษณะการยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาและสถานที่เรียนเหมือนการเรียนบนเว็บ - ความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน การรักษาความปลอดภัย ต้องเพิ่มงบประมาณมากขึ้นกว่าปกติ |
การประชุมทางไกลด้วยวีดีทัศน์ | - ประหยัดเวลาในการเดินทางของผู้สอน - ผู้สอนไม่จำเป็นต้องปรับวิธีการสอนมากนักจากวิธีการเรียนในชั้นเรียน - สามารถส่งภาพและเสียงไปพร้อมกันได้ | - หากเป็นการรับภาพทางโทรทัศน์ต้องใช้ต้นทุนสูง ต้องปรับปรุงห้องเรียนเช่น มีแสงเพียงพอ ระบบเสียงดี - หากรับภาพทางอินเทอร์เน็ตต้องใช้กล้องที่มีคุณภาพสูงเพื่อส่งภาพที่มีคุณภาพซึ่งย่อมมีราคาสูงตามไปด้วย |
เทคโนโลยีไร้สาย | - ระบบเคลื่อนที่ทำให้คล่องตัวในการใช้งาน ผู้สอนเป็นอิสระในการเดินดูผู้เรียนทั่วห้อง และผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ทุกสถานที่ไม่จำเป็นต้องนั่งเฉพาะในห้องเรียน - เกิดความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนทั้งรูปแบบและวิธีการ - เชื่อมต่อเว็บได้ทันทีเพื่อการสื่อสารและความร่วมมือในการทำงาน - เพิ่มความสามารถ เพิ่มความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าแบบเดิม - ใช้การสื่อสารด้วยเสียงบนอินเทอร์เน็ตได้ในห้องเรียนที่ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ - ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้ไม่ต้องเสียค่าเดินสายเคเบิลในอาคารและบริเวณโดยรอบ | - อุปกรณ์ไร้สายจะมีราคาสูงกว่า อุปกรณ์ใช้สาย - ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในเรื่องของการ์ดเพื่อการสื่อสารหากใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่มีเสาอากาศไร้สาย |
สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย
วัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว
วัสดุ อุปกรณ์ | ข้อดี | ข้อจำกัด |
โทรทัศน์วงจรปิด | - เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ - ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการสอนที่ผู้เรียน/ผู้ชมไม่สามารถรวมกันอยู่ในบริเวณที่เรียน/ที่ชมพร้อมกันได้ - สามรถใช้ร่วมกับวีดีทัศน์ในการส่งภาพได้ | - รับภาพได้เฉพาะในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น - ถ้าต้องการถ่ายทอดภาพหลายจุดต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจอภาพในบริเวณต่างๆ |
โทรทัศน์วงจรเปิด | - สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหรือผู้ชมไม่จำกัดจำนวน และสามารถแพร่สัญญาณไปได้ในระยะไกลๆ - ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน - เหมาะสำหรับการใช้จูงใจ สร้างทัศนคติและเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิดหรือเสริมสร้างการอภิปรายร่วมกัน - ช่วยลดภาระของผู้สอนคือ แทนที่จะต้องบรรยายหลายครั้งหรือหลายแห่งในหัวข้อเดียวกันต่อผู้เรียนหลายกลุ่ม ก็ใช้การแพร่สัญญาณไปยังที่ต่างๆได้ในเวลาเดียวกัน | - การจัดรายการที่ดีต้องใช้ต้นทุนสูงมากและต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิตรายการ - เป็นสื่อสารทางเดียว ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถถามข้อสงสัยได้ในทันที และผู้สอนไม่สามารถทราบการตอบสนองของผู้เรียนได้ - รายการที่เสนออาจไม่ตรงกับตารางสอนหรือบทเรียน |
วิดีทัศน์ | - สามารถใช้ได้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ - สามารถซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจหรือทบทวน - แสดงการเคลื่อนไหวของภาพประกอบเสียงที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงของจริงมาก | - ต้นทุนอุปกรณ์และการผลิตที่มีคุณภาพดีมีราคาสูง และต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิต/จัดรายการ - ตัวอักษรที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์มีขนาดเล็กอ่านยาก - แถบเทปเสื่อมสภาพได้ง่าย |
แผ่นดีวีดี (DVD: digital versatile disc) | - แผ่นมีความจุตั้งแต่4-17จิกะไบต์ ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ได้ทั้งเรื่องโดยไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนแผ่นใหม่ขณะเล่น - คุณภาพของภาพบนแผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดีทัศน์ - ให้เสียงดอลบีเซอร์ราวด์ช่วยให้การชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น - สามารถเลือกชมตอนใดของภาพยนตร์โดยไม่ต้องเรียงตามเนื้อเรื่อง - เลือกเสียงได้หลายภาษา - ไม่ยึดหรือเสียหายง่ายเหมือนแถบเทป - สามารถทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น - เครื่องเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดีแผ่นวีซีดี และแผ่นดีวีดี | - แผ่นดีวีดีคุณภาพดียังมีราคาสูงพอควร - การบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นต้องใช้อุปกรณ์ราคาสูงพอควร - ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึก ภาพยนตร์ลงแผ่นได้เอง |
แผ่นวีซีดี (vcd:video-compact disc) | - คุณภาพของภาพบนแผ่นวีซีดีให้ความคมชัดมากกว่าแถบวีดีทัศน์ - ไม่มีการยึดเหมือนแถบวีดีทัศน์ - เครื่องเล่นแผ่นวีซีดีสามารถเล่นแผ่นซีดีได้ด้วย - ทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น | - ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นได้เองเหมือนการใช้แถบวีดีทัศน์ - แผ่นมาตรฐานสูงไม่สามารถใช้เล่นเครื่องเล่นมาตรฐานธรรมดาได้ |
สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง
วัสดุ / อุปกรณ์ | ข้อดี | ข้อจำกัด |
วิทยุ | - สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ หรือรายบุคคล - ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกลๆ - ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยายในการเดินทางไปสอนในที่ต่างๆ - สามารถให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่สามารถอ่านเขียนจากใช้ทักษะในการฟังเพียงอย่างเดียว - ดึงดูดความสนใจได้ดี - เครื่องรับวิทยุราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้ - สามารถใช้กับสื่ออื่น เช่น สิ่งพิมพ์ | - ต้องใช้ห้องที่ทำขึ้นเฉพาะเพื่อการกระจายเสียง - ผู้ฟังหรือเรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการ เนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้ - เป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ผู้บรรยายไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง |
เทปบันทึกเสียง | - ใช้ได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน - เหมาะสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือกับกลุ่มย่อย - การเปิด/ปิด/เดินหน้า ย้อนกลับสามารถทำได้สะดวก - ต้นทุนการผลิตต่ำ - อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้ - ใช้ได้หลายสภาวการณ์ เช่น ใช้ประกอบสไลด์ ใช้บันทึกเสียงที่ไม่สามารถฟังได้ทั่วถึง เช่น ฟังการเต้นของหัวใจ เป็นต้น | - การบันทึกเสียงที่คุณภาพดีจำเป็นต้องใช้ห้องและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพสูง - ต้องมีความชำนาญพอสมควรในการตัดต่อเทป - ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา |
แผ่นซีดี (CD:compact disc) | - บันทึกเสียงประเภทต่างๆในระบบดิจิทัลที่ให้ความคมชัดมาก - เรียกค้นข้อมูลเสียงได้รวดเร็ว - มีความทนทานใช้งานได้นาน - ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา | - ไม่สามารถบันทึกได้ถ้าใช้แผ่น CD-R - เครื่องเล่นมีราคาสูงกว่าเครื่องเล่นเทปเสียง |
สื่อประสมเชิงโต้ตอบ (Interactive Multimedia)
วัสดุ / อุปกรณ์ | ข้อดี | ข้อจำกัด |
คอมพิวเตอร์ | - ใช้งานได้หลายประเภท เช่นคำนวณ จัดเก็บฐานข้อมูล งานกราฟิก จัดหน้าสิ่งพิมพ์ ฯลฯ - ใช้แก้ปัญหาต่างๆที่ซับซ้อน - เสนอข้อมูลได้หลายประเภท - มีการโต้ตอบกับผู้เรียน - สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจำอื่น เช่น แผ่นซีดี - ใช้ร่วมกับโมเด็มหรือแบบไร้สายเพื่อใช้บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่นๆได้ทั่วโลก - ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารได้ เช่น การรับส่งเมล การประชุมทางไกล ฯลฯ - เครื่องกระเป๋าหิ้วและแบบมือถือมีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้ | - เครื่องที่มีสมรรถนะการใช้งานสูงจะมีราคาสูงพอสมควร - ต้องมีการบำรุงรักษาตามระยะเวลา - ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ จึงจะใช้งานได้ - มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์ เช่น ความเร็วต่างๆจนทำให้เครื่องที่มีอยู่ล้าสมัยได้เร็ว |
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (ซีเอไอ) (computer-assisted instruction : CAI) | - ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับบทเรียนได้ - สามารถให้ผลป้อนกลับได้ในทันที - มีรูปแบบบทเรียนให้เลือกใช้มากมาย เช่น การสอน ทบทวน เกม การจำลอง - เสนอบทเรียนได้ทั้งลักษณะตัวอักษรภาพ และเสียง - ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา บทเรียนและทำกิจกรรมได้ตามความสามารถของตนในลักษณะการศึกษารายบุคคล | - ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมบทเรียน - โปรแกรมซอฟต์แวร์บางประเภทมีราคาสูงพอควร |
แผ่นซีดี ซีดีอาร์ และ ซีดีอาร์ดับเบิลยู (CR-Rom,CD-R,CD-RW) | - สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 700 เมกะไบต์ - บันทึกข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง กราฟิก แอนิเมชั่น เคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียง - ไม่มีการเผลอลบข้อมูลที่บันทึกไว้ แล้ว - ค้นข้อมูลได้เร็วและถูกต้อง - มีอายุการใช้งานนานและยากแก่การบุบสลาย - ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา | - แผ่นซีดีรอมและแผ่นซีดีอาร์จะไม่สามารถบันทึกทับข้อมูลเดิมได้ - ต้องใช้เล่นร่วมกับคอมพิวเตอร์ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)